วันอาทิตย์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

Blog คืออะไร
blogger คืออะไร
Blogger คืออะไร?
       Blogger เป็นอีกหนึ่งบริการของ Google ที่จะช่วยให้คุณมีพื้นที่สำหรับเขียนเรื่องราวต่าง ๆ ที่คุณต้องการในลักษณะของ Webblog บริการเหล่านี้คุณสามารถใช้งานได้ฟรี โดยไม่มีค่าใช้จ่าย สำหรับคนที่อยากมีเว็บไซต์ส่วนตัว แต่ไม่อยากมีค่าใช้จ่าย blogger สามารถช่วยคุณได้
Webblog กับ Website ต่างกันอย่างไร
Website ต้องมี Domain Name และ Hosting เป็นของตนเอง และเสียค่าใช้จ่าย ส่วน Webblog นั้นเราสามารถสมัครใช้บริการได้ฟรี แต่เราต้องใช้ Domain ของผู้ให้บริการ Webblog นั้น ๆ อยู่ในชื่อ domain ของเราด้วย เช่น http://ninetechno.blogspot.com  เป็นต้น
Website คุณสามารถสร้างรูปแบบของเว็บไซต์ได้เองมีความยืดหยุ่น ส่วน Webblog นั้นมี template ให้เลือก โดยการเขียน blog ก็จะมีโครงสร้างที่ตายตัวไม่สามารถปรับเปลี่ยนได้มากนัก
Website หากคุณต้องการเขียนเองต้องเรียนรู้ภาษาคอมพิวเตอร์หลายภาษาอยู่พอสมควร แต่ Webblog คุณเพียงแค่เรียนรู้การใช้งานเล็กน้อยคุณก็สามารถใช้งานได้
Webblog ทำอะไรได้บ้าง
ทำเป็นเว็บไซต์ส่วนตัว
เขียนเรื่องราวต่าง ๆ และแบ่งปันให้กับผู้อื่น
หารายได้กับ google เช่น การเขียนบทความ และนำโฆษณาของ google มาติดลง webblog ของตนเอง
ทำธุรกิจที่เรียกว่า E-commerce ก็พอจะใช้ได้อยู่บ้าง
...... สถานภาพและบทบาท ของ Blogger / ข้อดี ข้อเสีย ของการทำ Blog
 
ได้เวลาชดใช้ ตอบแทนพระคุณชาว oknaiton ที่แวะมาเยี่ยมเยียน ทักทาย โอภาปราศรัย เอาเรื่องดีดีมาแปะ หรือ มาฝากฝัง มาทำPoll มาแสดงตัว ออกความเห็น (ชอบมากกกก) มาฟังเพลง มาเรียนวิชา เอาวิชามาให้ มาชักชวนไปทำสิ่งดีดี ทั้งหมดนี้ ซาบซึ้งมากค่ะ
         จากวันที่เปิด blog 'Nana Hahe' แห่งนี้ ไม่นึกว่าจะได้รับการต้อนรับมากมายเช่นนี้ ทีแรกเปิดเพื่อจะเขียนเรื่องเล่าจากสิ่งที่พบที่เจอะมา กะว่าจะคุยประเด็นข่าวบ้าง นานาสาระ ตามความสนใจของผู้จัด (ตัวเอง) อะไรที่มีมา หาได้ รู้แจ้ง (บางทีก็ยังรู้ไม่แจ้งนัก) ก็จะเอามาแบ่งปันกัน
         สนุกสนานเพลิดเพลินจนล่วงมา  4 เดือนเข้าแล้ว มี blogger หน้าเก่าหน้าใหม่แวะเวียนมามิได้ขาด รู้บ้างไม่รู้บ้างว่าเป็นใคร แต่ก็สำนึกอยู่เรื่อยมาว่า ทุกท่านเป็นกำลังใจ ที่ทำให้อยากทำต่อไปเรื่อยๆ เป็นการช่วยเราให้ได้แสดงออกในสิ่งที่เราสนใจ ที่เราอยากให้คนอื่นรู้ ที่เราอยากแสดงความคิดเห็น ที่เราอยากตอบแทนสังคม ที่เราอยากมีส่วนร่วม
         การเมือง ช่างวุ่นวายเหลือเกิน บ่อยครั้งที่เกินทำใจ ไม่รู้จะมีทางออกเป็นอย่างไร ก็เลยหลบหนีซะอย่างนั้น ต้องอุบเงียบไม่อ่านข่าว ไม่ฟังวิทยุ ไม่ดูทีวี เพราะยิ่งเสพข้อมูล ข่าวสารพวกนี้ ยิ่งกลุ้มใจ แต่ก็อดไม่ได้ เมื่อถึงเวลาบางช่วง มีอันที่จะต้องได้มีโอกาสนำประเด็นร้อนๆ มาเขียนถึง อย่างเรื่องฅนวันเสาร์ สันติภาพ คดียุบพรรค และอื่นๆ บางเรื่องต้องหยุดเพระทนไม่ได้กับการที่จะต้องไปนั่งเฝ้าและฟังคนหยาบๆออกมาด่าทอบุคคลสาธารณะ (ยกตัวอย่างเช่นเรื่องการปราศรัยของกลุ่มฅนวันเสาร์ พีทีวี เป็นต้น)  ไม่เกรงใจลูกหลานตัวเล็กๆว่าจะมาได้ยินกันบ้างเลย ละอายใจที่จะติดตามเรื่องอย่างนี้มานำเสนอ แม้จะมีคนให้ความสนใจมากมาย ก็หยุดตัวเองไว้ ทำแล้วไม่มีความสุข จะทำทำไม  ใช่ไหมคะ
กฎการทำบล็อกของตัวเอง
ข้อหนึ่ง ทำเพราะมีความสุขที่จะทำ
ข้อสอง ทำแล้วมีความสุขก็ทำ
ข้อสาม ทำแล้วไม่ทำให้ใครเดือดร้อนเสียหายก็ทำ (ถ้าทำไปแล้วมีคนคิดว่าเสียหาย ก็หยุดได้)
ข้อสี่ ทำแล้วสามารถทำประโยชน์ให้คนอื่นได้ก็ทำ
เป้าหมายการทำบล็อก ของตนเอง
1. แสดงความคิดเห็น นำเสนอเรื่องราวที่เราสนใจ ที่เราชอบ และคิดว่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น
2. แลกเปลี่ยนความคิดเห็น เพื่อสั่งสม สร้างเสริมและพัฒนาความรู้ความสามารถทางสติปัญญาและด้านอื่นๆของตนเอง
3. สร้างสัมพันธ์ระหว่างเรากับบุคคลอื่นในชุมชน
blog
4. 
ประโยชน์อื่นใดที่ อาจมีมา หาได้ ทำประประโยชน์ให้แก่ผู้ที่ต้องการ และสมควรได้รับจากการทำบล็อกในอนาคต
          จากการสังเคราะห์ คำว่า 'Blogger บล็อกเกอร์' มาระยะหนึ่ง ขอสรุปเอาจากสิ่งที่พบเห็น มาดูกันนะคะ ว่าพอจะจัดหมวดหมู่ได้อย่างไรบ้าง
          ซึ่งสิ่งที่เขียนไว้นี้ ไม่ใช่บทบัญญัติให้ปฏิบัติตาม บล็อกเกอร์มีอิสระในการแสดงออกและนำเสนอตามความสนใจ ความถนัด ความต้องการ จะเลือกทำบทบาทใดบทบาทหนึ่ง หรือ ผสมกันไปก็ย่อมได้ ส่วนแนวทางที่ควรหรือไม่ควรปฏิบัติไม่ใช้วัตถุประสงค์ของบทความนี้ค่ะ หากจะมีก็เป็นเพียงคำแนะนำในบางจุดเท่านั้น ซึ่งบล็อกเกอร์จะนำไปใช้หรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับความเห็นควรของตนเองนะคะ คนที่จะตัดสินคือ ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายของ บล็อกเกอร์  หรือบุคคลทั่วไป ที่จะแวะมาที่บล็อก หรือ เจ้าของบล็อกที่ บล็อกเกอร์ไปหาเขานั่นเองค่ะ ว่าเขาจะชอบ จะชัง แบบใด ต้องสังเกตุหรือหาข้อมูลเอาเองนะคะ
สถานภาพของ Blogger  และบทบาทโดยสังเขป
1) Contributor ผู้เขียนเรื่อง หรือจะเรียก Producer ผู้ผลิต ก็ได้เช่นกัน เพราะงานในบล็อกมิได้มีเพียงแค่เนื้อหา แต่ยังมีองค์ประกอบเสริมที่จะทำให้เรื่องน่าสนใจ น่าอ่าน ให้กลุ่มเป้าหมายได้รับสาระ ตรงตามที่เราตั้งใจ ซึ่งอาจจะเป็น วิชาการ ความรู้ บันเทิง กิจกรรม การกุศล หรืออะไรก็แล้วแต่ทีเราตั้งใจจะส่งออกไปให้ผู้เสพบล็อกได้รับ จะเขียนสั้น เขียนยาว หรือเป็นคำถามให้คิด ให้ตอบ ให้ร่วมสนุก ก็ตาม
ในส่วน Content หรือ เนื้อหาของเรื่องที่โพสในบล็อกกันนั้น ก็มีหลายแบบ แต่ละแบบมีวิธีเขียน หรือ นำเสนอแตกต่างกันได้ เช่น การเขียนไดอารี่จะเป็นการเล่าเรื่องราวชีวิตประจำวัน ไม่ต้องมีบทนำ บทสรุป ข้อคิด แตกต่างจากการ เขียนบล็อกที่ส่วนใหญ่จะมีแบบแผนในการเขียนเหมือนการเขียนเรียงความ มีการใช้ลูกเล่นได้หลากหลาย
ตัวอย่างประเภทของเนื้อหา ได้แก่
          - เขียนโครงการ ใช้เป็นเวทีทำกิจกรรม เนื่องในโอกาสต่างๆ หรือทำธุรกรรมการค้า หารายได้ ทั้งที่หากำไร และ ไม่หากำไร
          - เขียน/พูด/รายงาน เองทั้งหมด (ในอนาคตอาจมีการเขียนสคริปต์ให้กันด้วย) จากการค้นคว้า จากเหตุการณ์ จากการสัมภาษณ์ จากความทรงจำ จากอารมณ์ จากประสบการณ์ เช่น ไดอารี่ เรื่องสั้น บทความต่างๆ คู่มือต่างๆ ยกตัวอย่างเช่น เรื่องนี้ การายงานข่าว การสัมภาษณ์สด 
Blog Talk, Blog Cast
         - เขียนขึ้นเองทั้งหมดจากแหล่งข้อมูลของตัวเอง หรือที่ตัวเองรวบรวมมา คล้ายๆการทำรายงานหรือวิทยานิพนธ์ โดยระบุที่มาและให้เครดิตเจ้าของเนื้อหา
         - งานแปล จากภาษาอื่นโดยตัวเอง โดยได้รับอนุญาตจากผู้แต่ง
         - นำบทความของคนอื่นมาเรียบเรียงใหม่ เพื่อดึงจุดที่ตนเองอยากนำเสนอออกมาให้เด่นชัด ซึ่งเมื่อมีใครมาอ่านจะเข้าใจทันทีว่า ไม่ได้ลอกมาแต่มีการนำความคิดของผู้เขียนไปผสม ยกตัวอย่างเช่น งานวิจารณ์หนังสือ วรรณกรรม บุคคลในข่าว วิเคราะห์ข่าว โดยบอกแหล่งที่มา และให้เครดิตผู้แต่ง และ/หรือเจ้าของ
         - การคัดลอกเนื้อหาจากจากแหล่งอื่น เพื่อใช้อ้างอิงในบทความของตนเอง โดยบอกแหล่งที่มา และให้เครดิตผู้แต่ง และ/หรือเจ้าของ
         - การคัดลอกผลงานบุคคลอื่นมาทั้งหมดหรือเป็นส่วนใหญ่ เพื่อกระจายข้อมูลข่าวสารให้กว้างขวางยิ่งขึ้น ช่วยโป
รโมท หรือเอามาเผยแพร่เพื่อความบันเทิง สนุกสนาน ชื่นชม ประหลาดใจในความแปลก โดยบอกแหล่งที่มา และให้เครดิตผู้แต่ง และ/หรือเจ้าของ
        - การเอาเรื่องทั้งหมดของบุคคลอื่นมาแปะในบล็อก 100% ด้วยเหตุผลต่างๆกันไป 
2) Commentator ผู้ออกความเห็น ในฐานะผู้เยือน เมื่อไปอ่านไปเยี่ยมชมบล็อกของคนอื่น ก็ต้องมีทั้งศาสตร์และศิลป์ในการปฏิบัติและแสดงตนให้เหมาะสมกับตัวเอง เนื้อหา อารมณ์ สภาวะแวดล้อมของเรื่อง ของบล็อก ของบล็อกเกอร์ผู้เป็นเจ้าของบ้าน ตลอดจนห้วงเวลาที่เราไปหา เช่น อ่านเนื้อเรื่องแล้ว ต้องอ่านคอมเมนต์ประกอบไปด้วย จึงจะเห็นภาพรวมได้ และ ช่วยให้การออกความเห็นมีรสชาตดีกว่าการไม่อ่านอะไรเลย หรืออ่านแต่เพียงหัวข้อ เนื้อเรื่องนิดหน่อยแล้วสรุปเหมาเอาเอง
ในส่วนวิธีการเขียนคอมเมนต์ ก็มีหลายแบบ เช่นกัน ยกตัวอย่าง เช่น
          - อ่านเรื่องโดยละเอียด แล้วร่วมแสดงความคิดเห็นต่อเรื่องนั้นๆ แม้จะคิดแตกต่างก็แสดงออก บางทีเอาเรื่องของตัวเองที่สอดคล้องกับเนื้อหา มาแบ่งปันด้วย
          - อ่านเรื่องโดยละเอียด แล้วร่วมแสดงความคิดเห็น แต่ยังเกรงใจอยู่ บางทีเอาเรื่องของตัวเองมาแบ่งปันด้วย จะเข้ากับเนื้อหาหรือไม่ก็แล้วแต่กรณี
          - อ่านเรื่องบ้าง พอให้ได้ใจความ ก็เขียนความเห็นเลย จะพบความไม่ละเอียดได้จาก การถาม หรือ พูดในสิ่งที่มีอยู่ในเนื้อเรื่องแล้ว บางทีเอาเรื่องของตัวเองมาแบ่งปันด้วย จะเข้ากับเนื้อหาหรือไม่ก็แล้วแต่กรณี
          - ไม่อ่านเรื่อง แต่ออกความเห็น อาจจะดูแค่ชื่อเรื่อง แล้วคิดเอาเองว่าน่าจะเป็นเรื่องแนวไหน จะพบเห็นได้ ว่าบางทีก็เขียนไปคนละเรื่องเลย บางทีเอาเรื่องที่ตัวเองเขียน หรือเรื่องของตัวเองมาผสมด้วย จะเข้ากับเนื้อหาหรือไม่ก็แล้วแต่กรณี
          -  อ่านหรือไม่ไม่ทราบ แต่มาชักชวนให้ไปเที่ยว บล็อกตัวเอง
          - ไม่อ่านอะไรเลย เอาลิงค์มาแปะไว้เฉยๆ บางทีมีการทักทายก่อน บางทีไม่มีการทักทาย
          - มาทักทาย ตามเวลา ตามโอกาส มาแสดงตัวว่ามาเยี่ยม
          - มาสนทนา มาโต้ตอบ
          - เจ้าของบล็อกมาตอบคอม
เมนต์
          - มาถามหา มาเสนอแนะ ให้คำแนะนำ แนะนำแหล่งข้อมูลดีดี
          - มาชักชวนไปทำกิจกรรมร่วมกัน มาชักชวนไปอ่านเรื่องดีดีของบล็อกอื่น
          - มาตั้งคำถาม ตั้งขอสงสัย ขอความช่วยเหลือ
          - มาตอบคำถาม มาคลายข้อข้องใจ มาให้ความช่วยเหลือ
          - มาแสดงอารมณ์ ดีใจ สุข เศร้า เหงา ผิดหวัง บ่น เช่น ทะเลาะกับเพื่อน ทะเลาะกับแฟน ทีมบอลที่เชียร์อยู่ชนะ หรือ แพ้ มีคำสั่งยุบพรรค ไม่ยุบพรรค กรณีนี้จะเกิดในกลุ่มที่
คุยกัยบ่อยๆ หรือ รู้อยู่ว่า คอเดียวกัน
3) Participant  ผู้มีส่วนร่วม เช่นกรณีทาง oknation หรือ บล็อกเกอร์ท่านอื่นริเริ่มทำกิจกรรมอะไรที่ต้องทำร่วมกัน เช่น Citizen Journalist, Blog Tag, Oknation Speakers, เสนอข่าวแผ่นดินไหว, ข่าวหมอกควัน, ข่าวภัยผู้ก่อการร้าย, ข่าวจราจร, ข่าวจากจังหวัดที่บล็อกเกอร์อยู่, ประกวดภาพถ่าย, ประกวดเรื่องสั้น บทความ, ทำการกุศล, ไว้อาลัยทหารที่เสียชีวิต, ออกค่าย, เยี่ยมเด็กกำพร้า พิการ ผู้ด้อยโอกาส, แข่งโบว์ลิ่ง, แข่งกอล์ฟ, oknation Blogger Meeting, ออกบู้ท, เป็นต้น
ชาวบล็อกเกอร์สามารถไปร่วมกิจกรรมได้ในหลายรูปแบบ เช่น
          - ให้ความสนใจ ไปอ่านเรื่องราว
          - ไปออกความเห็น ให้ข้อเสนอแนะ
          - ช่วยเหลืองานเบื้องหลัง เตรียมการก่อนถึงกำหนด
          - สมัครเข้าร่วมในฐานะ ผู้จัดงาน สนับสนุนทุน ไปเป็นเกียรติ ไปร่วมงาน เป็นตัวแทน เป็นต้น
          - บอกกล่าว ชักชวนบล็อก
เกอร์ท่านอื่นให้ทราบถึงกิจกรรมนั้นๆ
          - เผยแพร่ข่าวสารให้บุคคลภายนอก เพื่อให้คนหมู่มากทราบ หากมิใช่เป็นเรื่องเฉพาะภายใน
          -ทำตัวเป็นตัวอย่างที่ดีของสังคม เช่น จะรณรงค์เรื่องประหยัดพลังงาน ก็ให้ปฏิบัติในชีวิตจริงด้วย รวมถึงชักชวนคนรอบข้างให้ทำไปพร้อมๆกัน
          - ให้กำลังใจทุกฝ่าย เมื่อมีโอกาส และเวลา
4) Mentor พี่เลี้ยง หรือ Supporter ผู้ช่วยเหลือ บทบาทนี้มีให้เห็นได้เสมอๆ คือ การคอยให้กำลังใจ ให้คำแนะนำแก่ blogger ท่านอื่น ด้วยความรัก ความห่วงใย ประสาคนคุ้นเคย ประสาเพื่อนร่วมชุมชน ประสาเพื่อนมนุษย์ อาจจะช่วยกันหน้าไมค์ หรือ หลังไมค์ก็แล้วแต่ ในที่นี้ขอกล่าวถึง blogger 2 กลุ่มค่ะ
กลุ่มที่ 1 เป็น blogger ที่มีหน้าที่อยู่ในทีมงานของผู้ให้บริการบล็อก oknation ด้วย เพราะในขณะที่ทำบล็อกของตนเอง ก็ต้องช่วยแก้ปัญหา ให้กำลังใจ ประสานงาน สานไมตรี หลายๆอย่างไปพร้อมๆกันจนบางครั้งก็แยกไม่ออกว่าไหนคืองาน ไหนคือส่วนตัว 
กลุ่มที่ 2 เป็น blogger ที่มีน้ำใจ เห็นเพื่อน blogger เกลอกัน มีความไม่สบายใจ มีปัญหา ก็จะเข้าไปช่วยแก้ไขปัญหา ปลอบ ให้กำลังใจตามวาระและโอกาส ด้วยความปราถนาดี รองลงไปก็ไปแสดงน้ำใจ แสดงความเห็นใจพอประมาณ ตรงนี้เป็นเรื่องดี แต่ก็ต้องระวังในการแสดงออกให้พอเหมาะพอควร ในกรณีที่เป็นเรื่องส่วนตัว เรื่องที่กระทบจิตใจ ไม่ใช่เรื่องเกี่ยวกับเทคนิค ควรทำอยู่บนพื้นฐานของความจริงใจและเอาใจเขามาใส่ใจเราด้วยจะดีที่สุด ไม่งั้นผู้ที่โดนปลอบใจจะรู้สึกด้อยและกลับกลายเป็นเสียใจมากขึ้น หรืออาจเป็นเหตุให้เสียสัมพันธ์อันดีก็เป็นได้
5)  Blog Master ผู้ดูแลและบริหารบล็อก เรื่องนี้เคยเขียนไว้แล้วคร่าวๆ ที่บล็อกนี้ เชิญไปอ่านประกอบเนื้อหาได้ค่ะ ที่
มารู้จัก Blog Master อาชีพใหม่ (ซะเมื่อไหร่) ค่ะhttp://http://www.oknation.net/blog/nanahahe/2007/05/18/entry-1/blog/nanahahe/2007/05/18/entry-1
(ว่างๆจะมาเขียน ขยายความเพิ่มเติมในส่วนนี้ ไว้อีกนะคะ)
เพราะการทำบล็อกจะเขียนอย่างเดียวก็ไม่ได้ จะนั่งอ่านของคนอื่นอย่างเดียวก็ไม่ดี จะไม่หาความรู้ พัฒนาแนวคิด พัฒนาปรับปรุงแนวเขียน แนวการนำเสนอเรื่องเลยก็ไม่ควร จะปล่อยปละละเลยไม่อัพบล็อก ไม่ตอบคอมเมนต์เลยก็ไม่ใช่ ต้องใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์หลายรูปแบบค่ะ
ข้อดีของการทำบล็อก ก็คือ
1. เจ้าของบล็อกมีอิสระที่จะนำเสนอ อะไรก็ได้ ที่ไม่ไปก้าวล่วงบุคคลอื่น ที่ไม่ผิดกติกาของผู้ให้บริการบล็อกที่เราทำอยู่ (oknation) ที่ไม่ผิดกฎหมายและศีลธรรม ประเพณีที่ดีงาม ถ้าเราใช้จริยธรรมในใจกำกับ กฎต่างๆก็อยู่ที่เราจะกำหนดเองค่ะ
2. เปิดโอกาสให้ บล็อกเกอร์ได้รับฟัง แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้โดยอิสระ จะรับไว้ จะไม่อ่าน จะตอบ จะลบ ก็ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของเจ้าของบล็อก แต่ก็ไม่ลดสิทธิ์ที่ผู้ให้บริการบล็อกจะเข้ามาช่วยดูแลในกรณี ฉุกเฉิน หรือมีปัญหาที่ต้องดำเนินการ
3. ในด้านเทคนิค เจ้าของบล็อกสามารถปรับแต่งบล็อกให้เป็นรูปแบบที่ตนต้องการได้โดยไม่ต้องมีความรู้ในเรื่องภาษาคำสั่งของโปรแกรมมากมาย อาศัยบทเรียนง่ายๆ การสังเกตุ การทดลอง สามัญสำนึกช่วยก็ทำเองได้ หรืออาจขอความช่วยเหลือเล็กๆน้อยๆจากผู้ที่มีประสบการณ์ก็สามารถเข้าไปแก้ไข Source Code เองได้
4. สามารถสร้างเครือข่าย ชุมชนสัมพันธ์ระหว่างบล็อกเกอร์ที่มีความคิด ความสนใจ ความรู้สึก ร่วมกันได้
5. ช่วยเป็นกระบอกเสียง ทำประชาสัมพันธ์ในเรื่องต่างๆได้ รวมทั้งผลงานให้เป็นที่รู้จัก หากบุคคล นักธุรกิจ คนดัง นักร้อง ค่ายเพลง นักแสดง หมอดู นักการเมือง องค์กร ห้างร้านสนใจมาทำบล็อกก็จะได้ประโยชน์ในเรื่องการตลาดอย่างมาก หากใช้อย่างมีเป้าหมาย มีการวางแผน ด้วยความรอบคอบ ระมัดระวัง และบริหารบล็อกอย่างมืออาชีพ หรือด้วยมืออาชีพ
6. เปิดโอกาสให้เจ้าของบล็อกทำธุรกิจได้ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจที่หารายได้จากการจำหน่ายสินค้า บริการ หรือ หารายได้จากการเป็นสมาชิก การลงโฆษณา ก็ตาม
7. ได้พื้นที่ใช้งานฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย แถมมีคนคอยบริการ ช่วยเหลือเมือ่มีปัญหาทางด้านเทคนิค หรือปัญหาทั่วๆไปที่เกี่ยวกับ บล็อก
8. ได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ หรือ สิ่งเก่าๆ ที่ยังไม่รู้ ให้รู้มากขึ้น จากการนำมาแลกเปลี่ยนกันและกัน
9. ได้มิตรภาพใหม่ๆ จากความสัมพันธ์กับคนในชุมชนบล็อก กับเพื่อนของบล็อกเกอร์ และเพื่อนของเพื่อนของ.....
10. ใช้เป็นช่องทางสื่อสารกับครอบครัว เพื่อนฝูง เมื่อยามห่างไกลกัน
11. เปิดโอกาสให้เจ้าของบล็อกได้แสดงออกถึงความสามารถ ความคิดเห็นได้อย่างไม่เคยมีมาก่อน บางท่านอาจจะกลายเป็นคนดังได้ เช่น คุณ kittinun ป้ามด และอีกหลายๆท่าน
12. เปิดโอกาสให้ประชาชนคนธรรมดา กลายเป็น ผู้สื่อข่าวได้ เพียงแค่นำเรื่องใกล้ตัวที่น่าสนใจ น่าตระหนัก มาเสนอในช่วงเวลาที่เหมาะสม
13. เปิดโอกาสให้บล็อกเกอร์ได้แสดงตัวตนที่เป็นตัวเอง หรืออาจจะเป็นด้านที่ไม่มีใครรู้มาก่อนได้ แม้จะอยู่ชื่อแฝง หรือจะอยู่ในชื่อจริงก็ตาม
14. เป็นไดอารี่บันทึกประจำวัน เป็นที่เก็บข้อมูลประจำครอบครัว ประจำสถาบัน ใช้เป็นจดหมายเหตุได้
15. เป็นที่พบปะสังสรรค์เพือนเก่า เครือญาติ ศิษย์เก่าสถาบันต่างๆได้
16. เก็บไว้เป็นที่ระลึกถึงตัวเอง ถึงคนอันเป็นที่รัก ที่ชัง ครอบครัว เพื่อน คนอื่นรวมไปถึงสัตว์เลี้ยง พืช งานอดิเรก ของรัก ของหวง รวมถึงเหตุการณ์ที่น่าจดจำรำลึก ในยามที่เลิกหรือไม่ได้ทำบล็อกแล้ว
17. เป็นแหล่งข้อมูลความรู้ ให้บุคคลอื่นเข้ามาค้นคว้า ศึกษาได้ในปัจจุบันและอนาคต
18. เปิดโอกาสให้ผู้ที่อาจจะต้องอยู่ในมุมมืด เช่นผู้มีอาชีพพิเศษ นักโทษ ผู้ที่ไม่ต้องการเผยตัว ได้ใช้เป็นเวทีแสดงออกและแลกเปลี่ยน เรื่องราว ความคิดเห็น แนวทาง โดยไม่จำเป็นต้องเผยชื่อ
19. เปิดโอกาสให้ผู้ที่มีความคิดเห็นแตกต่างกัน มาอยู่ร่วมในชุมชนเดียวกัน เพิ่มโอกาสให้มีการปรับแนวทางความคิด ความเข้าใจซึ่งกันและกัน และอาจจะนำไปสู่ความรู้รักสามัคคี และการสมานฉันท์ ในการนำส่วนที่ดีดี มาใช้ร่วมกันก็เป็นได้
20. ใช้เป็นเครื่องมือในการทำงาน เช่นกรณีของการนำเสนอข่าวอย่างฉับไว เจาะลึก มีพร้อมทั้งภาพและเสียง ผ่านสื่อต่างๆหลายรูปแบบ ซึ่งในเครือ The Nation ใช้อยู่ในปัจจบุนนี้
21.  ใช้เป็นศูนย์รวมการให้ความรู้ การศึกษาวิชาการ วิชาชีพ ศิลปะ การติว การให้การบ้าน การส่งการบ้าน ของครู อาจารย์ นักเรียน นักศึกษา บุคคลทั่วไป 
22. ใช้สร้าง รวมกลุ่ม ชุมชนออนไลน์ย่อยๆ เพื่อการระดมความคิด พบปะพูดคุย ปรึกษาธุระ แสดงผลงานร่วมกัน เช่น ร้อยแก้ว ร้อยกรอง วรรณกรรม การ์ตูน งานศิลปะอื่นๆ ตามแตความสนใจของกลุ่มย่อยนั้น ในบางกรณี ยังสามารถกำหนด password ในการเข้าบล็อกของกลุ่มเพื่อรักษาความลับไม่ให้รั่วไหล
23. ใช้เป็นสถานีวิทยุออนไลน์ ให้บริการข่าว ฟังเพลง ตลอด 24 ชั่วโมง
ข้อเสียของการทำบล็อกนั้น ก็มีอยู่ เช่น
1. บล็อกเกอร์มีอิสระในการนำเสนอ โดยไม่ต้องมีการตรวจสอบจากใครก่อน อาจโพสเรื่องที่ไม่เหมาะสม เรื่องที่หมิ่นเหม่ หรือ เข้าข่ายผิดกฎหมาย ผิดประเพณีและศีลธรรมอันดีได้ จึงต้องมีกติกาให้ตัวเอง หรือใช้จริยธรรมของแต่บุคคล ความมีเหตุมีผล ความระมัดระวัง รอบคอบ ของบล็อกเกอร์มากำกับไว้เอง
2. ผู้ให้บริการบล็อก ไม่สามารถกลั่นกรองเนื้อหาได้ 100% เว้นแต่จะสร้างระบบกรองคำหยาบ คำต้องห้ามไว้เพื่อให้มีการตรวจทานก่อนเผยแพร่ อาจมีความเสี่ยงเป็นผู้กระทำผิดกฎหมายไปด้วยหากมีบล็อกเกอร์โพสข้อความ รูปภาพ ไม่เหมาะสมแล้วมีการฟ้องร้องขึ้นมา
3. ในทางปฏิบัติ ผู้ให้บริการบล็อก ไม่สามารถบังคับหรือกำหนดแนวทางให้บล็อกเกอร์นำเสนอได้ แม้จะโปรโมทให้ oknation เป็นสังคมของ CJ Citizen Jouranalist แต่ก็เป็นที่ยอมรับกันว่า จะไม่สามารถอยู่ได้หากไม่มีบล็อกเกอร์ที่ทำบล็อกในแนวอื่น ซึ่งเปรียบเสมือนมีคอมลัมน์หลากหลายในหนังสือพิมพ์แต่ละฉบับ จึงน่าจะถือว่า เป็นเรื่องของการสร้างชุมชนที่ดีร่วมกัน
4. เนื้อหาที่อยู่ในบล็อก หากไม่ใช่ผลงานวิจัย หรือ วิทยานิพนธ์ ที่ทำตามหลักวิชาการ หรือ ตัวบทกฎหมาย ก็อาจมีความน่าเชื่อถือน้อยถึงน้อยมาก
5.ความน่าเชื่อถือของข้อมูลขึ้นกับความน่าเชื่อถือของบล็อกเกอร์ มากกว่าตัวข้อมูลเอง หากเกิดความผิดพลาดใดๆ ผู้ที่นำข้อมูลไปใช้อ้างอิง อาจประสบปัญหาได้
6. เปิดโอกาสให้พวกป่วนเข้ามาเปิดบล็อก ก่อกวน
7. เปิดโอกาสให้ผู้ที่มีความคิดเห็นแตกต่างกัน มาอยู่ร่วมในชุมชนเดียวกัน เพิ่มโอกาสให้มีการแสดงออกถึงการขัดแย้งอย่างไม่มีเหตุผล สร้างความไม่สามัคคี ทะเลาะกันได้ หากไม่ใช้การวางจิตเป็นกลาง ไม่นำเหตุและผลมาโต้แย้งกันโดยสันติ
8. เปิดโอกาสให้มีการเผยแพร่ กระจายข่าวปั้นแต่ง ข่าวลือ ข่าวลวง ข่าวยั่วยุ
9. การที่มีบล็อก และเรื่องใหม่ๆมากมายในแต่ละวัน การนำเสนอเรื่องเดิมซ้ำๆกันอาจเกิดขึ้นได้ เช่นการนำ ข้อความจากฟอร์เวิร์ดเมล์ มาโพส เป็นต้น